ใส่สะพานฟัน อายุเยอะ

ฟันแบบไหนที่เหมาะทำสะพานฟัน เพื่อทดแทนฟันที่เสียไป เมื่ออายุมากขึ้น

สะพานฟัน (Dental Bridge) คือ ฟันปลอมติดแน่นที่ประกอบด้วยครอบฟันมากกว่า 1 ซี่เชื่อมติดกัน ซี่ที่อยู่ริมสุดทั้งสองฝั่งจะใช้การสวมเข้าไปบนฟันแท้ที่เหลืออยู่เพื่อเป็นหลักยึดตรงกลางของสะพานฟัน ลอยอยู่เหนือเหงือกคล้ายกับสะพาน เราเรียกฟันซี่ตรงกลางว่าฟันลอยเป็นฟันที่ทดแทนฟันที่เสียไป

อีกทางเลือกในการทำฟันปลอมแบบติดแน่นคือ การทำสะพานฟัน เพื่อทดแทนฟันได้ตั้งแต่ 1 ซี่ไปจนถึงทดแทนฟันทั้งปาก สะพานฟันจึงเหมาะกับผู้ที่ฟันแท้หลุด แต่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ ผู้ที่ฟันแท้หลุดมากกว่า 1 ซี่ เป็นซี่ที่อยู่ติดกัน และผู้ที่ฟันแท้หลุดมากกว่า 1 ซี่ จึงจำเป็นต้องทำรากฟันเทียมทุกซี่

สะพานฟัน คืออะไร ลักษณะเป็นอย่างไร

สะพานฟัน คือ การทำฟันปลอมชนิดติดแน่นเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป หลักการของสะพานฟันคืออาศัยฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงเป็นหลักในการยึดติด เหมือนฟันธรรมชาติ ไม่มีแผ่นเหงือกปลอม ไม่มีตะขอ โดยการทำสะพานฟันจะทำในกรณีที่ฟันถูกถอนไป แต่เหลือฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงที่แข็งแรงสำหรับยึดสะพานฟัน โดยส่วนประกอบของสะพานฟัน มีดังนี้

  • ส่วนที่ยึดติดกับฟันธรรมชาติ เป็นอุปกรณ์ครอบฟันธรรมชาติ ก่อนใส่ต้องทำการกรอฟันซี่ที่แข็งแรงข้างฟันซี่ที่หลุดไปให้สวมครอบฟันไว้ได้ โดยทำหน้าที่เป็นเหมือนส่วนยึดสะพานฟันไว้ให้ฟันอยู่กับที่
  • ฟันลอย ฟันปลอมที่ยึดติดกับส่วนที่ครอบฟัน เมื่อทำการติดสะพานฟัน ตัวฟันลอยจะไม่ยึดติดกับเหงือกของฟันที่หลุดไป

ฟันที่เหมาะกับทำสะพานฟัน

การทำสะพานฟัน เหมาะกับผู้ที่ฟันแท้หลุด แต่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ บริเวณที่สูญเสียฟันเป็นช่วงสั้น ๆ ผู้ที่ฟันหน้าที่ถูกถอนไป ผู้ที่ฟันแท้หลุดมากกว่า 1 ซี่ เป็นซี่ที่อยู่ติดกัน และ ผู้ที่ฟันแท้หลุดมากกว่า 1 ซี่ และจำเป็นต้องทำรากฟันเทียม แต่ไม่ต้องการทำรากฟันเทียมทุกซี่ อาจใช้ซี่ที่ทำรากฟันเทียมเป็นหลักยึดสำหรับใส่สะพานฟัน

ขั้นตอนทำสะพานฟัน และการดูแลหลังทำสะพานฟัน

ขั้นตอนการทำสะพานฟัน

  1. ทำการเตรียมฟันสำหรับเป็นหลักยึด คนไข้จะต้องมีฟันหลักยึดที่แข็งแรงดีใกล้กับฟันซี่ที่สูญเสียไป โดยทันตแพทย์จะทำการกรอฟันที่แข็งแรงให้เหมาะสำหรับการสวมสะพานฟัน
  2. พิมพ์ฟันเพื่อออกแบบสะพานฟัน เมื่อกรอฟันได้ขนาดที่เหมาะสมแล้ว ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ฟัน ใช้ดิจิตอลสแกนช่องปาก เพื่อไปผลิตสะพานฟันในห้องปฏิบัติการ ใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ โดยทันตแพทย์จะให้สะพานฟันแบบชั่วคราวมาใส่แทนก่อน
  3. ถึงเวลาใส่สะพานฟัน เมื่อสะพานฟันของจริงเสร็จ ทันตแพทย์จะถอดเอาสะพานฟันชั่วคราวออก แล้วใส่สะพานฟันของจริงเข้ามาแทน
  4. ปรับสะพานฟันของจริง หลังจากใส่สะพานฟันของจริงแล้ว ทันตแพทย์จะตรวจสอบอีกครั้งว่าใส่ได้พอดีไหม ระหว่างนี้สามารถแจ้งกับทันตแพทย์ได้เพื่อทำการปรับแก้ไข

ข้อแนะนำสำหรับการดูแลหลังทำสะพานฟัน

  1. การดูแลสะพานฟัน เพียงแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
  2. พบทันตแพทย์เป็นประจำอยางน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจดูความเรียบร้อยของสะพานฟัน
  3. ควรกินอาหารให้หลากหลาย เน้นจำพวกผักผลไม้ และไฟเบอร์
  4. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง เช่น น้ำแข็ง ลูกอม

การทำสะพานฟันจะช่วยให้คุณสามารถกลับมายิ้มและพูดคุยได้อย่างมั่นใจ ทำให้บดเคี้ยวอาหารได้และออกเสียงที่ได้ดังเดิม เมื่อมีรอยยิ้มที่มั่นใจและสมบูรณ์ก็จะส่งผลให้ใบหน้าของคุณสดใส ดูอ่อนเยาว์กว่าวัยได้ หากคุณกำลังต้องการทำสะพานฟัน และยังไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรดี ที่ไหนดี สามารถเข้ามาขอคำปรึกษาเกี่ยวกับทำสะพานฟันได้ที่ TDH Dental ทุกสาขา เรามีทีมทันตแพทย์ที่ดูแลในเรื่องของสะพานฟันโดยเฉพาะ หรือเข้ามาแวะชมบริการในด้านการทำทันตกรรมแบบต่าง ๆ ของเราก่อนได้ที่เว็บไซต์ ตลอด 24 ชั่วโมง

หรือถ้าคุณอยากหาผู้ช่วยสำหรับดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถขอคำปรึกษาออนไลน์ผ่าน Dentist Anywhere by TDH Dental ประสบการณ์ใหม่ของวงการทันตกรรม คุณจะได้พูดคุยปรึกษาปัญหาสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์โดยตรง ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน เพียงเท่านี้การดูแลช่องปากและฟันก็กลายเป็นเรื่องง่ายและไม่ยุ่งยากอีกต่อไปแล้ว

Related posts

เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ได้ที่
ยอมรับ
ปฏิเสธ
Privacy Policy