สะพานฟัน คืออะไร

สะพานฟัน คือ ทันตกรรมที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้ฟันของคุณได้

หลายคนอาจสงสัยว่าการทำสะพานฟันมีผลดีอย่างไรต่อช่องปากและฟัน เหตุผลที่ต้องทำสะพานฟันนั้นจะช่วยให้บดเคี้ยวอาหารได้ดี ช่วยให้รอยยิ้ม หัวเราะ พูดคุยได้เหมาะฟันธรรมชาติ ช่วยให้รักษาโครงสร้างใบหน้าให้คงรูปตามธรรมชาติ ป้องกันปัญหาฟันล้มที่สามารถเกิดขึ้นในอนาคตได้ และยังช่วยให้การสบฟันเป็นปกติได้ ที่สำคัญสะพานฟันยังช่วยให้ฟันธรรมชาติอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

สะพานฟัน คืออะไร

สะพานฟัน (Dental Bridge) คือ ฟันปลอมชนิดติดแน่นที่ประกอบด้วยครอบฟันมากกว่าหนึ่งซี่เชื่อมติดกัน โดยซี่ที่อยู่ริมสุดทั้งสองฝั่ง จะใช้สำหรับสวมเข้าไปบนฟันแท้ที่เหลืออยู่ในช่องปากเพื่อเป็นหลักยึด ตรงกลางสะพานฟันจึงลอยอยู่เหนือเหงือกคล้ายกับสะพาน โดยฟันซี่ตรงกลางของสะพานฟันเรียกว่าฟันลอยเป็นฟันซี่ที่ทดแทนฟันที่เสียไป

ประเภทของสะพานฟัน

ประเภทของสะพานฟันแบ่งเป็น 3 ประเภทตามลักษณะการยึดติดของสะพานฟัน มีรายละเอียดดังนี้

1. สะพานฟันทั่วไป

สะพานฟันทั่วไป (Traditional bridge) หรือสะพานฟันแบบดั้งเดิม เป็นรูปแบบที่นิยมทำมากที่สุด ประกอบด้วยครอบฟันประเภทต่าง ๆ แล้วแต่ความต้องการของคนไข้ ซึ่งจะมีครอบฟันลอย Pontic ที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไปเป็นตัวเชื่อมกับครอบฟันที่ยึดติดบนฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียง

การใส่สะพานฟันทั่วไป ทันตแพทย์จำเป็นต้องกรอฟันที่เป็นหลักยึดทั้งสองข้างให้มีลักษณะเหมาะสมก่อนจะครอบสะพานฟันลงไป สะพานฟันประเภทนี้มีข้อดีคือใช้ในการบดเคี้ยวอาหารได้ดีกว่าสะพานฟันชนิดอื่น ๆ ข้อจำกัดสำคัญคือ จำเป็นต้องกรอฟันที่แข็งแรงเพื่อเป็นหลักยึดถึงสองซี่

สะพานฟันทั่วไป Traditional bridge

สะพานฟันทั่วไป (Traditional bridge)

2. สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว

สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว (Cantilever bridges) รูปแบบที่พัฒนาจากสะพานฟันแบบทั่วไป โดยมีลักษณะคล้ายกันเพียงแต่ใช้ฟันเป็นหลักยึดเพียงซี่เดียวเท่านั้น ผู้รับบริการจึงต้องถูกกรอฟันที่แข็งแรงเพียง 1 ซี่ แต่ความคงทนแข็งแรงจะไม่มากนัก หากเคี้ยวอาหารที่แข็งหรือเหนียวจนเกินไปมีโอกาสแตกหักได้เช่นกัน

  สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว Cantilever bridges

 สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว (Cantilever bridges)

3. สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์

สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ (Maryland bridges) หรือ สะพานฟันที่ยึดด้วยเรซิน หรือเรียกว่าสะพานฟันแบบปีกผีเสื้อ เป็นสะพานฟันที่มีแกนโลหะและมีโลหะลักษณะคล้ายปีกที่ใช้ยึดติดด้านหลังของฟันหลักซี่ข้างเคียงทั้งซ้ายและขวาโดยใช้เรซินเป็นตัวเชื่อม ทำให้ไม่ต้องสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติของฟันที่ยึดเกาะเยอะเท่ากับการทำสะพานฟันแบบทั่วไป แต่ข้อจำกัดคือความแข็งแรงจะไม่เท่ากับการทำสะพานฟันแบบทั่วไป

สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ (Maryland bridges)

สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ (Maryland bridges)

ขั้นตอนการทำสะพานฟัน

การทำสะพานฟันไม่ใช่กระบวนการที่ซับซ้อนมาก หากเทียบกับการทำรากฟันเทียม แต่การทำสะพานฟันต้องทำกับทันตแพทย์โดยตรงและมีการนัดหมายการรักษา 3 ครั้ง โดยมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

การนัดหมายครั้งแรก

  1. ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทาง โดยเลือกทำกับทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพราะการทำสะพานฟันเป็นการทำฟันปลอมแบบถาวร ต้องมีการวางแผนการรักษาอย่างละเอียด รวมถึงการเลือกสีและวัสดุของสะพานฟันให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของฟันแต่ละซี่
  2. เตรียมฟันสำหรับเป็นหลักยึด หากทันตแพทย์พิจารณาแล้วว่าควรทำสะพานฟัน หลังจากนี้จะต้องเตรียมฟันสำหรับเป็นหลักยึดและอยู่ใกล้กับฟันซี่ที่สูญเสียไป โดยทันตแพทย์จะทำการกรอฟันซี่ที่แข็งแรงซี่นั้นให้เหมาะสมสำหรับสวมสะพานฟัน
  3. พิมพ์ปาก บริเวณที่จะทำสะพานฟัน เพื่อส่งให้แล็บทันตกรรมผลิตสะพานฟันที่ให้พอดีกับฟันธรรมชาติ ขั้นตอนผลิตชิ้นงานสะพานฟันใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน
  4. ใส่สะพานฟันแบบชั่วคราว ระหว่างที่รอสะพานฟันจากห้องแล็บทันตกรรม ทันตแพทย์จะใส่สะพานฟันแบบชั่วคราวให้ก่อน เพื่อให้สามารถบดเคี้ยวอาหารและใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ขณะใส่สะพานฟันชั่วคราวนั้น ควรหลีกเลี่ยงการกัดเคี้ยวของแข็ง / เหนียว เพราะอาจทำให้สะพานฟันแบบชั่วคราวหลุด หรือแตกหักได้

การนัดหมายครั้งที่ 2

  1. ใส่สะพานฟันจริง ทันตแพทย์จะถอดสะพานฟันชั่วคราวออก แล้วยึดติดสะพานฟันตัวจริงที่ผลิตจากห้องแล็บทันตกรรม จากนั้นทำการปรับแต่งสะพานฟันให้เหมาะสม ซึ่งสะพานฟันจริงจะมีความแข็งแรงและสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ สามารถใช้งานได้ปกติ

การนัดหมายครั้งที่ 3

  1. ตรวจสอบหลังจากการใช้งาน (Recheck) ทันตแพทย์จะนัดหมายมาตรวจเช็คอีกรอบประมาณ 7-10 วันหลังจากวันที่ใส่สะพานฟัน หากมีปัญหาการใช้งานที่ผิดปกติจะได้แก้ไขให้คนไข้ได้ทันที

การดูแลสุขภาพช่องปากหลังทำสะพานฟัน

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แข็งและเหนียว เพราะทำให้สะพานฟันหลุดหรือแตกได้
  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันบริเวณสะพานฟัน และ Pontic เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบและปัญหากลิ่นปากได้
  • พบทันตแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจดูความเรียบร้อยของสะพานฟัน และสุขภาพฟันโดยรอบ หากพบปัญหาจะได้แก้ไขได้ทัน
  • งดรับประทานอาหารร้อนหรืออาหารเย็น หากเกิดอาการเสียวฟัน

ข้อดีของการทำสะพานฟัน

  • สะพานฟันใช้งานสะดวก ติดแน่นกับฟันได้อย่างดี ไม่ต้องกังวลว่าจะหลุดระหว่างการพูดคุยหรือรับประทานอาหาร
  • สะพานฟันมีการกระจายน้ำหนักเพื่อรองรับการบดเคี้ยว คงทนแข็งแรง ใช้ทดแทนฟันธรรมชาติได้อย่างดี
  • สะพานฟันช่วยป้องกันการล้มของฟันซี่ข้างเคียงได้
  • ช่วยให้สภาพฟันทุกซี่เรียงตัวกันเหมือนปกติ มีสีใกล้เคียงกับฟันซี่อื่น ๆ ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ผู้รับบริการ
  • ไม่ต้องคอยถอดออก หรือสวมใส่เป็นประจำเหมือนฟันปลอมแบบถอดได้

ข้อเสียของการทำสะพานฟัน

  • ต้องกรอฟันข้างเคียง ทำให้สูญเสียฟันธรรมชาติที่แข็งแรง
  • ฟันที่เป็นหลักยึดยังเป็นฟันตามธรรมชาติ มีโอกาสผุกร่อนใต้สะพานฟันได้
  • สะพานฟันมีส่วนที่ลอยตัวอยู่เหนือเหงือก อาจทำความสะอาดยากกว่าฟันธรรมชาติ ต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ

ทำสะพานฟัน เสริมความแข็งแรงให้ฟันกับทันตแพทย์มากประสบการณ์

การทำสะพานฟันเป็นอีกวิธีที่สามารถใส่ฟันทดแทนฟันที่หายไปได้ มีลักษณะคล้ายครอบฟันติดกันหลายซี่ ขึ้นกับจำนวนฟันที่ใส่ทดแทน และสำหรับกรณีที่สูญเสียฟันเป็นช่วงสั้น ๆ มีฟันหน้าและฟันหลังของบริเวณนี้สูญเสียฟันไป สำหรับการทำสะพานฟันเป็นเคสที่ต้องอาศัยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ถ้าคุณสนใจทำสะพานฟัน สามารถปรึกษาขอคำแนะนำจากทันตแพทย์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ที่ Thonglor Dental Hospital คลินิกทันตกรรมที่ได้รับมาตรฐาน ISO9001:2015 ให้บริการทุกสาขาด้านทันตกรรม ทันตแพทย์มากประสบการณ์และทีมงานมืออาชีพ เครื่องมือและอุปกรณ์ทันสมัย เรามีบริการจัดฟันแบบใส Invisalign, ขูดหินปูน, ขัดฟัน, อุดฟัน, ทันตกรรมบูรณะ, ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม, ทันตกรรมประดิษฐ์ สะพานฟัน, รักษารากฟัน, รากฟันอักเสบ, ปริทันตวิทยา, ทันกรรมบดเคี้ยว, ศัลยกรรมช่องปาก, ศัลกรรมขากรรไกร, ทันตกรรมจัดฟัน และทันตกรรมเด็ก

ที่ TDH Dental มีให้บริการหลายสาขา สาขาคลิกนิกทันกรรมมีสาขาทองหล่อ สาขาปุณณวิถี สาขาราชฤกษ์ สาขาเวียงจันทร์ สาขาติวานนท์ และสาขาไอคอนสยาม พบกับทันตกรรมที่จะให้คุณมีรอยยิ้มที่สวยสะอาด สดใส เหมือนดารา จัดฟัน ได้ที่เราที่เดียว Thonglor Dental Hospital

Related posts

เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ได้ที่
ยอมรับ
ปฏิเสธ
Privacy Policy