

รากฟันเทียมคืออะไร
![]() |
รากฟันเทียม คือ ไทเทเนียมสกรู ที่ได้รับการออกแบบพิเศษมีรูปร่างคล้ายรากฟัน ใช้เพื่อยึดกับกระดูกขากรรไกรในตำแหน่งที่ฟันธรรมชาติถูกถอนออกไป ซึ่งรากเทียมนี้สามารถยึดได้กับครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมชนิดถอดได้เป็นอย่างดี สำหรับการทดแทนฟันที่หายไปด้วยการใส่รากเทียมนั้นให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงฟันธรรมชาติที่สุด ทั้งความรู้สึกจากการใช้งาน และรูปลักษณ์ภายนอก จึงเป็นการรักษาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในปัจจุบัน |
ส่วนประกอบของฟันเทียม
|
![]() |
ข้อดีของการทำรากฟันเทียม
-
สวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ
-
ช่วยคงสภาพกระดูกขากรรไกร
-
เพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว
-
เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานและการยึดติดของฟันปลอมชนิดถอดได้
-
ใช้ทดแทนการทำสะพานฟันโดยไม่สูญเสียฟันข้างเคียง
-
มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
-
ทำความสะอาดง่าย
-
เพิ่มความมั่นในและบุคลิกภาพ
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม
-
ตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษา
-
การฝังรากฟันเทียมลงไปในกระดูก
-
ต่อเดือยรองรับครอบฟันและพิมพ์ปากเพื่อเตรียมสำหรับการใส่ครอบฟัน
-
ยึดครอบฟัน
ระยะเวลาในการทำรากฟันเทียม
รากฟันเทียมใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือนขึ้นไป เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการปลูกรากเทียม
อายุการใช้งานของรากฟันเทียม
รากฟันเทียมมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา
รากฟันเทียมที่ TDH เลือกใช้
|
![]() |
![]() |
|
![]() |
![]() |
|
![]() |
![]() |
การดูแลรักษาการทำรากฟันเทียม
-
ควรแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
-
ควรทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
-
ระวังอย่าให้แผลติดเชื้อ อย่ากลั้วปากแรง
-
งดสูบบุหรี่และดื่มน้ำทางหลอด เพราะแรงดูดมีผลต่อแผล (ภายใน 24 ชั่วโมง)
-
พบทันตแพทย์ตามที่นัดหมายและทุกๆ 6 เดือน
คำถามที่พบบ่อย
Q : รากฟันเทียมเจ็บไหม?
A : การทำรากฟันเทียมไม่เจ็บเท่าที่หลายๆ คนคิด เนื่องจากการทำรากฟันเทียมทันตแพทย์จะมีการฉีดยาชาก่อน เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด และเมื่อทำรากฟันเทียมเสร็จอาจมีอาการปวด บวม สามารถรับประทานยาบรรเทาอาการปวดตามที่ทันตแพทย์สั่งได้
Q : ผู้ที่ไม่ควรทำรากฟันเทียม?
-
ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ แนะนำให้ทำการรักษาภายหลังจากคลอดบุตรแล้ว เนื่องจากอาจส่งผลกกระทบต่อทารก
-
ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่
-
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็งที่มีการฉายรังสีบริเวณใบหน้า
-
ผู้ที่มีปัญหาช่องปาก เช่น โรคเหงือก แนะนำให้ทำการรักษาให้หายก่อน
Q : เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับการทำรากฟันเทียม?
-
ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาอย่างละเอียด
-
แจ้งข้อมูลตามความเป็นจริงกับทันตแพทย์ เช่น โรคประจำตัว ยาที่รับประทานอยู่
-
ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีก่อนเข้ารับการรักษา