
MENUMENU

โรคปริทันต์ เป็นการติดเชื้อแบบทำลาย ทั้งเหงือก กระดูกที่ห่อหุ้มรากฟันและเส้นเอ็นปริทันต์ เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียฟัน |
![]() |
สาเหตุของโรคปริทันต์
-
คราบจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่บนฟันหรือรากฟัน
-
ปัญหาทางการแพทย์ เช่น เบาหวาน โรคเลือด หรือโรคทางพันธุกรรม
-
การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์และโรคในช่องปากอื่นๆ
อาการของโรคปริทันต์
-
มีเลือดออกขณะแปรงฟัน
-
เหงือกบวม และอาจมีหนอง
-
ฟันโยก
-
ฟันยื่นยาว หรือแยกกันเกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟัน
ขั้นตอนการรักษาโรคปริทันต์
-
-
การดูแลด้วยตนเอง โดยการทำความสะอาดที่ถูกต้องตามปกติที่บ้านด้วยตัวเอง โดยทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์
-
การรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ การรักษาอาจทำโดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายๆ วิธีดังต่อไปนี้
-
การขูดหินปูนและเกลารากฟัน เป็นส่วนสำคัญในการรักษาอาจใช้เวลาในการมาพบทันตแพทย์หลายครั้งเพื่อรักษาจนเสร็จสมบูรณ์
-
การรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่หรือการรับประทานเพื่อช่วยในการควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจจะร่วมกับน้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อ
-
ระยะเวลาในการรักษาโรคปริทันต์
การรักษาโรคปริทันต์ ต้องใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน และขึ้นอยู่กับวิธีการดูแลรักษาของแต่ละบุคคลด้วย
อายุการใช้งานในการรักษาโรคปริทันต์
หากเป็นโรคปริทันต์แล้วควรจะดูแลรักษาสุขภาพฟันและเหงือกไปตลอด เพื่อป้องกันให้ไม่กลับมาเป็นโรคปริทันต์อีก
การดูแลรักษาหลังรักษาโรคปริทันต์
-
ทำความสะอาดฟันด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง อย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของทันตแพทย์
-
ใช้ไหมขัดฟัน และน้ำยาบ้วนปากเป็นประจำ
-
ทำการขูดหินปูนและขัดฟันทุกๆ 3-6 เดือน หรือตามที่ทันตแพทย์นัดหมาย
คำถามที่พบบ่อย
Q : รักษาโรคปริทันต์เจ็บไหม?
A : การรักษาโรคปริทันต์อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด เนื่องจากโรคปริทันต์ทำให้ฟันถูกทำลายไปจนถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้นได้