

การจัดฟันแบบโลหะ เป็นการจัดฟันที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาขนาดของวัสดุที่ใช้ให้มีขนาดเล็กลง มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและให้ความรู้สึกสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น โดยมีข้อดีคือสามารถใช้ในการจัดฟันได้ในทุกรูปแบบในราคาที่ย่อมเยากว่าแบบอื่นๆ รวมไปถึงสีสันของยางที่มีให้เลือกใช้ได้หลากหลายอีกด้วย |
![]() |
ปัญหาฟันที่เหมาะกับการจัดฟันแบบโลหะ |
สาเหตุเกิดจาก : การเจริญเติบโตผิดปกติอย่างต่อเนื่องของกระดูกขากรรไกร และความแตกต่างของขนาดฟัน เมื่อมีฟันหายไปอาจก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของฟันซี่อื่นที่อยู่ข้างเคียงสู่ช่องว่างที่ฟันหายปัญหาที่ตามมา : เกิดช่องว่างระหว่างฟัน อาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องโรคเหงือก (เนื่องจากไม่มีฟันป้องกัน) เกิดร่องลึกปริทันต์ และมีความเสี่ยงของโรคปริทันต์เพิ่มขึ้น บางครั้งอาจมีปัญหาเรื่องการสบกัดและเคี้ยวอาหารได้ไม่ดี โดยปัญหาฟันห่างสามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดฟัน |
สาเหตุเกิดจาก : เกิดเนื่องจากไม่มีเนื้อที่เพียงพอในขากรรไกรที่จะทำให้ฟันเรียงตัวได้อย่างพอดีแบบปกติ อาจเพราะขากรรไกรเล็กไป ฟันมีการเคลื่อนมารวมกัน จนกระทั่งไม่มีพื้นที่เพียงพอให้เคลื่อนยกเว้นขึ้นหรือลงปัญหาที่ตามมา : เมื่อถูกทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษา การเกิดฟันซ้อนเกจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามเวลา ซึ่งการซ้อนเกของฟันจะส่งผลทำให้มีการสะสมของคราบจุลินทรีย์ ฟันผุ และเพิ่มโอกาสการเป็นโรคเหงือกอักเสบตามมา การรักษาฟันซ้อนเกมักต้องถอนฟันร่วมกับการจัดฟัน เพื่อให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง |
สาเหตุเกิดจาก : เกิดขึ้นเมื่อขากรรไกรบนและล่างไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ทำให้ฟันบนหนึ่งซี่หรือมากกว่ากัดสบอยู่ด้านในของฟันล่าง โดยเกิดขึ้นได้ทั้งด้านหน้าและด้านข้างของช่องปากปัญหาที่ตามมา : ทำให้เกิดฟันสึกและยื่นอย่างผิดปกติ ปัญหาด้านการบดเคี้ยวรวมถึงปัญหาโรคเหงือกและปริทันต์ |
สาเหตุเกิดจาก : เกิดขึ้นเมื่อฟันล่างยื่นออกมามากกว่าฟันหน้าบน มักเกิดจากการเติบโตของขากรรไกรบนน้อย การเติบโตของขากรรไกรล่างมาก หรือทั้งสองอย่างรวมกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการขาดหายไปของฟันบนซึ่งมีผลต่อการทำหน้าที่ของฟัน หน้าบนและฟันกรามปัญหาที่ตามมา : ทำให้เกิดการสึกของฟันตามมาก่อให้เกิดปัญหาและอาการปวดข้อต่อกระดูกขากรรไกร |
สาเหตุเกิดจาก : เกิดขึ้นเมื่อฟันบนกัดคร่อมลงบนฟันล่าง โดยมีระยะที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างปลายฟันบนและล่าง ขณะสบเต็มที่ปัญหาที่ตามมา : ซึ่งลักษณะการสบฟันแบบนี้อาจทำอันตรายต่อเหงือกที่อยู่ด้านในได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดลักษณะปากผิดรูป ริมฝีปากดันไปข้างหน้า บางครั้งพบว่าไม่สามารถปิดริมฝีปากให้ได้สมบูรณ์กรณีที่การสบลึกรุนแรง ในบางรายอาจมีการสูญเสียกระดูกเบ้าฟันทำให้รู้สึกไม่สบาย อาจมีฟันหน้าสึกอย่างมาก สาเหตุของฟันสบลึกเป็นได้ทั้งจากพันธุกรรม นิสัยที่ผิดปกติในการใช้ฟันและอวัยวะในช่องปากหรือการพัฒนาที่มากเกินของกระดูกรอบๆ ฟัน ส่งผลต่อโรคเหงือกและการบิ่นหรือแตกของฟันหน้า |
สาเหตุเกิดจาก : เกิดขึ้นเมื่อฟันบนกัดคร่อมลงบนฟันล่าง โดยมีระยะที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างปลายฟันบนและล่าง ขณะสบเต็มที่ปัญหาที่ตามมา : ซึ่งลักษณะการสบฟันแบบนี้อาจทำอันตรายต่อเหงือกที่อยู่ด้านในได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดลักษณะปากผิดรูป ริมฝีปากดันไปข้างหน้า บางครั้งพบว่าไม่สามารถปิดริมฝีปากให้ได้สมบูรณ์กรณีที่การสบลึกรุนแรง ในบางรายอาจมีการสูญเสียกระดูกเบ้าฟันทำให้รู้สึกไม่สบาย อาจมีฟันหน้าสึกอย่างมาก สาเหตุของฟันสบลึกเป็นได้ทั้งจากพันธุกรรม นิสัยที่ผิดปกติในการใช้ฟันและอวัยวะในช่องปากหรือการพัฒนาที่มากเกินของกระดูกรอบๆ ฟัน ส่งผลต่อโรคเหงือกและการบิ่นหรือแตกของฟันหน้า |
สาเหตุเกิดจาก : เป็นลักษณะการสบฟันที่ฟันหน้าล่างและบนไม่สัมผัสกันปัญหาที่ตามมา : เมื่อมีการกัดฟันลงมาส่งผลให้ฟันหลังต้องรับแรงมากกว่าปกติจากการกัดและการบดเคี้ยว |
สาเหตุเกิดจาก : ผู้ที่มีปัญหาจากโครงสร้างกะโหลกศีรษะ ส่งผลต่อความสูงของใบหน้าที่ผิดปกติ เช่น หน้ายาว หน้าสั้น ฟันบนยื่น ริมฝีปากมีแรงมากกว่าปกติ เป็นต้นปัญหาที่ตามมา : จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดตั้งแต่ตรวจเจอปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงชุดฟันผสมระยะต้น (Early mixed dentition) ซึ่งจะรักษาด้วยการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ทำให้สามารถปรับปรุงลักษณะใบหน้าดังกล่าวได้ |
|
ขั้นตอนการรักษา |
1. ทันตแพทย์ตรวจวิเคราะห์ปัญหาฟัน ช่องปาก ความสมดุลของใบหน้า และขากรรไกรว่าสามารถจัดฟันแบบโลหะได้หรือไม่ |
![]() |
![]() |
2. ทำการ X-ray ฟัน พิมพ์ฟัน เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจดูถึงความผิดปกติของกระดูกและฟันได้ชัดเจนถูกต้อง รวมถึงดูการยื่นของฟันบนและฟันล่างด้วย |
3. ทันตแพทย์วางแผนในการรักษาและจัดฟันให้กับคนไข้ ซึ่งเป็นขั้นตอนการเคลียร์ช่องปาก บางคนอาจจะต้องถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ขึ้นอยู่สภาพฟันของแต่ละบุคคล |
![]() |
![]() |
4. ทันตแพทย์จะติดเครื่องมือจัดฟันให้คนไข้ และนัดมาปรับเครื่องมือเดือนละ 1 ครั้ง |
5. เมื่อจัดฟันเสร็จแล้ว คนไข้ต้องมีการใส่เครื่องมือคงสภาพฟันหรือรีเทนเนอร์ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ |
![]() |
คำถามที่พบบ่อย
Q : ทำไมต้องพบทันตแพทย์ทุกเดือน?
A : การจัดฟันแบบโลหะ เป็นการจัดฟันที่ต้องมีการปรับเครื่องมือทุกๆ เดือน ซึ่งทันตแพทย์จะดูความเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งฟัน พร้อมทั้งวางแผนการรักษาขั้นต่อไป มีการเปลี่ยนยางจัดฟัน (O-ring) มีการเปลี่ยนลวด เปลี่ยนตำแหน่งเครื่องมือ ใส่เครื่องมือเพิ่มเติม และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดต้องใช้การคิดวิเคราะห์และประสบการณ์ของทันตแพทย์
Q : จัดฟันแบบโลหะเจ็บไหม?
A : แน่นอนว่าการจัดฟันแบบโลหะเมื่อมีการติดหรือปรับเครื่องมือใหม่อาจทำให้มีอาการเจ็บ ซึ่งมีอาการเจ็บมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละบุคคล อาการนี้จะหายภายใน 3-5 วัน แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนๆ หรือหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีลักษณะแข็ง เหนียวหรือเคี้ยวยากจนเกินไป
Q : เหล็กจัดฟันทิ่มกระพุ้งแก้มทำอย่างไรดี?
A : เหล็กจัดฟันทิ่มกระพุ้งแก้ม หรือมีการระคายเคืองบริเวณช่องปาก แนะนำให้ใช้ขี้ผึ้งในการลดอาการดังกล่าว โดยการปั้นเป็นก้อนเล็กๆ แล้วแปะทับไปที่ลวดหรือเครื่องมือที่แหลมคม แต่ถ้าปลายลวดยื่นออกมามาก หรือปลายลวดหลุดออกมาจากเหล็กจัดฟัน ให้ไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที
Q : การจัดฟันแบบโลหะทำให้พูดไม่ชัดหรือน้ำลายหกเพราะอะไร?
A : สาเหตุที่ทำให้ผู้ที่จัดฟันแบบโลหะพูดไม่ชัด น้ำลายหก เกิดจากการที่คนไข้ยังไม่ชินกับอุปกรณ์จัดฟันทำให้ขัดขวางการออกเสียง หรือปิดปากได้ไม่สนิท ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไป หลังจากที่ร่างกายปรับตัวได้ จะใช้เวลามากหรือน้อยนั้นอยู่กับการปรับตัวของแต่ละบุคคล