อุดฟันน้ำนม คืออะไร อุดฟันเด็ก

อุดฟันน้ำนม คืออะไร สำคัญต่อสุขภาพฟันของลูกน้อยอย่างไร

อาการฟันน้ำนมผุในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 6 เดือน หรือเมื่อฟันซี่แรกขึ้นในช่องปากเนื่องจากฟันน้ำนมมีเคลือบฟันที่หนาเพียงครึ่งหนึ่งของฟันแท้ จึงทำให้ฟันน้ำนมผุได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะในส่วนของฟันซี่หน้าด้านบนที่มักจะผุง่ายกว่าฟันซี่หน้าด้านล่าง และตัวฟันกรามด้านบดเคี้ยวซี่ในที่ทำความสะอาดได้ยากเมื่อมีเศษอาหารเข้าติดค้างอยู่ในร่องฟัน
เมื่อลูกรักเกิดอาการฟันน้ำนมผุจนเป็นรูคุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกสงสัยว่าควรพาลูกน้อยไปอุดฟัน หรือปล่อยทิ้งไว้ให้หลุดแล้วรอขึ้นใหม่ดี วันนี้ TDH Dental จะพาทุกท่านมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันเพื่อให้ลูกน้อยได้มีรอยยิ้มที่สดใสสมวัยทุกช่วงเวลา

การอุดฟันน้ำนม คืออะไร

อุดฟันน้ำนม (Milk Tooth Filling) คือวิธีการรักษาโรคฟันผุที่เกิดขึ้นในเด็ก ด้วยการใช้วัสดุทางการแพทย์อุดรูบนผิวฟันในส่วนที่มีการผุเกิดขึ้น เพื่อให้ฟันน้ำนมที่ผุสามารถกลับมาใช้งานได้ดีตามปกติไม่ส่งกระทบต่อการดำเนินชีวิต โดยวิธีการหรือขั้นตอนการรักษาที่คล้ายกับการอุดฟันแท้ในผู้ใหญ่

การอุดฟันเด็กจำเป็นแค่ไหน เมื่อลูกฟันน้ำนมผุ

สำหรับข้อสงสัยนี้ทันตแพทย์ ขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาน้องมารักษาทันทีเพราะหากปล่อยไว้อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากในอนาคตได้ เนื่องจากอาจเกิดอาการปวดฟันในซี่ที่ผุมากซึ่งมีผลต่อการนอนหลับและการเรียนรู้ หรือทำให้เด็กๆ ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตอีกด้วย

หากคุณพ่อคุณแม่เลือกปล่อยฟันน้ำนมซี่ที่ผุทิ้งไว้ให้หลุดแล้วรอขึ้นใหม่ ผลที่จะตามมาในอนาคตคือฟันแท้มีโอกาสผุตามไปด้วย เนื่องจากเด็กที่มีฟันผุมักมีเชื้อก่อโรคฟันผุในช่องปากมากกว่าปกติ นอกจากนี้เชื้อก่อโรคฟันผุยังสามารถทำให้เกิดอาการปวดฟัน เหงือกบวมเป็นหนอง และเชื้อโรคฟันผุอาจลุกลามไปสู่ฟันซี่อื่นๆ ได้ในอนาคต

แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ยังไม่แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณนั้นมีฟันผุหรือไม่ ตอนนี้ TDH Dental ได้มีการเปิดศูนย์ทันกตรรมเพื่อน้อง ๆ หนู ๆ ขึ้นมาโดยเฉพาะอย่าง TDH Kids ที่จะมีทันตแพทย์เด็กเฉพาะทางคอยต้อนรับน้อง ๆ หนู ๆ อย่างเป็นกันเอง

ภาพสถานที่ภายในศูนย์ทันตกรรมเด็ก TDH Kids

สาเหตุที่ฟันน้ำนมผุ เกิดจากอะไร

  • จุกนม การปล่อยให้เด็กนอนหลับไปพร้อมกับจุกนม ส่งผลให้น้ำตาลที่อยู่ในนมเข้าไปทำลายเคลือบฟัน
  • โครงสร้างของฟัน ไม่สมบูรณ์จากการคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย หรือแม่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
  • การรับประทาน ขนมหวาน น้ำอัดลม แล้วไม่แปรงฟัน จนเกิดการสะสมของกรดที่พร้อมจะทำลายผิวฟันไปทีละนิดจนเกิดเป็นอาการของฟันผุ
  • รูปร่างของฟัน ก็มีผลทำให้เด็กๆ เกิดฟันผุได้หากฟันมีร่องลึก ขึ้นในตำแหน่งที่ผิดปกติ ซ้อนเกไม่เป็นระเบียบ ซึ่งทำให้ยากต่อการทำความสะอาด จนเกิดการสะสมของเศษอาหารที่ปล่อยไว้นานจะก่อให้เกิดฟันผุ

อาการฟันน้ำนมผุ มีลักษณะอย่างไร

  • มีรอยขาวขุ่น บริเวณหลุมร่องฟันหรือบริเวณเคลือบฟัน มีจุดสีดำหรือสีน้ำตาลเล็กๆ บนผิวฟันแต่ในระยะแรกเริ่มนี้ยังไม่ส่งผลให้เด็กๆ แสดงอาการเจ็บปวดใด
  • เนื้อฟันแตกหัก เมื่อเกิดฟันผุที่ชั้นเคลือบฟันและเนื้อฟัน เนื้อฟันจะเกิดการแตกหักแสดงถึงร่องรอยของการผุเป็นรูบนตัวฟัน ในระยะนี้เด็กๆ จะเริ่มแสดงอาการเสียวฟัน ปวดฟันเมื่อมีเศษอาหารติดจนส่งผลต่อการกินอาหารที่ลดน้อยลง
  • ปวดฟันอย่างเห็นได้ชัด ในระยะนี้เด็กๆ จะมีอาการปวดฟันอย่างเห็นได้ชัด พร้อมมีอาการประสาทฟันอักเสบร่วมกับการอักเสบของเหงือก และอวัยวะรอบๆ ตัวฟันที่ผุร่วมด้วย

วัสดุอุดฟันสำหรับฟันน้ำนม มีแบบไหนบ้าง

  • วัสดุอมัลกัม: มีสีเงิน มีความแข็งแรง ทนทาน นิยมใช้อุดฟันกราม เพราะมีความแข็งแรงทนทานต่อการบดเคี้ยวได้ดี
  • วัสดุคอมโพสิตเรซิน: มีสีเหมือนฟัน ให้ความสวยงาม เป็นธรรมชาติ นิยมใช้อุดฟันหน้าหรือบริเวณที่ยิ้มแล้วเห็นฟัน
  • วัสดุเซรามิก: มีสีใกล้เคียงกับเนื้อฟัน ให้ความสวยงามเป็นธรรมชาติ แต่มีความเปราะบางกว่าเมื่อเทียบกับวัสดุคอมโพสิตเร
  • วัสดุกลาสไอโอโนเมอร์: มีสีเหมือนฟัน สามารถปล่อยฟลูออไรด์ได้หลังจากอุด แต่มีความทนทานน้อยกว่าวัสดุคอมโพสิตเรซิน และมีราคาสูง

หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่อ่านจบแล้วรู้สึกสงสัยหรือเป็นห่วงอาการฟันน้ำนมผุของเด็กๆ ว่าควรอุดฟันหรือไม่และควรเลือกใช้วัสดุแบบใดในการอุดฟันเด็กดี คุณหมอจาก TDH Dental ขอแนะนำให้เลือกวัสดุการอุดฟันที่เหมาะสมกับฟันซี่ที่ผุ หากผุในส่วนของฟันกรามควรเลือกใช้วัสดุอมัลกัมที่มีความแข็งแรงทนทานต่อการบดเคี้ยว หากฟันซี่ที่ผุคือฟันหน้าหรือซี่ที่ยิ้มแล้วเห็นได้ชัดควรเลือกวัสดุคอมโพสิตเรซิน หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีสีเหมือนเนื้อฟัน เพื่อความสวยงามเป็นธรรมชาติ และหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถเข้าติดต่อสอบถามและขอคำปรึกษาปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปากของลูก ๆ กับทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กได้ที่ TDH Kids

Related posts

เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ได้ที่
ยอมรับ
ปฏิเสธ
Privacy Policy